แนวคิดอื่น ๆ จากฟิสิกส์กระแสหลัก ของ การเดินทางข้ามเวลา

ปฏิทรรศน์

ดูบทความหลักที่: ปฏิทรรศน์ชั่วขณะ

หลักความสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency principle) และการคำนวณโดย คิบ เอส โตร์น (Kip S. Thorne) [ต้องการอ้างอิง] ได้ระบุเอาไว้ว่าคนธรรมดาสามัญชนที่ได้มีการเดินทางข้ามเวลาผ่านทางรูหนอนนั้นจะไม่เคยก่อให้เกิดปฏิทรรศน์we are on for aหรือความขัดแย้งขึ้นแต่อย่างใด-ไม่มีสภาวะเงื่อนไขเริ่มต้นที่จะนำไปสู่​​ความขัดแย้งเมื่อครั้งซึ่งการเดินทางข้ามเวลานั้นได้มีการเริ่มต้นขึ้น

การตีความแบบพหุโลกของอีเวอเรตต์ (Many-worlds interpretation)

แนวคิดจักรวาลคู่ขนานอาจจะถูกเสนอแนะให้เป็นวิธีการที่จะออกจากปัญหาของความขัดแย้งหรือปฏิทรรศน์ได้ การตีความแบบพหุโลกของอีเวอเรตต์ (Everett's many-worlds interpretation หรือ (MWI)) ในกลศาสตร์ควอนตัมแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีความเป็นไปได้ทั้งหมดทางควอนตัมที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในประวัติศาสตร์พิเศษร่วมกัน [29] จักรวาลแบบมีทางเลือก, หรือจักรวาลแบบคู่ขนานเหล่านี้, จะเปรียบเทียบได้กับรูปสัญลักษณ์ของต้นไม้ที่จะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปที่จะแทนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการมีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ในเส้นทางประวัติศาสตร์แต่ละเส้นทางนั้น ถ้าความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมดนั้นมีอยู่จริง, ปฏิทรรศน์ หรือ ความขัดแย้งใด ๆ อาจจะสามารถอธิบายได้โดยมีเหตุการณ์ที่มีปฏิทรรศน์ หรือ ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นในจักรวาลที่มีความแตกต่างกันเหล่านั้น แนวคิดนี้มักจะถูกนำไปใช้ในนิยายวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ แต่นักฟิสิกส์บางคน เช่น เดวิด ด๊อยท์สช (David Deutsch) ได้ชี้ให้เห็นว่า ความเป็นไปได้ทั้งหมดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลที่มีความแตกต่างกันนั้น จะเกิดขึ้นได้ถ้าการเดินทางข้ามเวลามีความเป็นไปได้จริง และ หลัก MWI นั้นมีความถูกต้อง

ฟิสิกส์ควอนตัม

ปรากฏการณ์ในทางกลศาสตร์ควอนตัม เช่น การเคลื่อนย้ายสสารเชิงควอนตัม (Quantum teleportation), ปฏิทรรศน์อีพีอาร์ (the EPR paradox) หรือ การพัวพันกันเชิงควอนตัม (หรือ ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement)) อาจจะมีปรากฏให้เห็นอยู่ในเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างกลไกที่ช่วยทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันในระยะทางที่ไกลมาก ๆ เช่น ในระยะทางระหว่างดวงดาว ที่มีอัตราเร็วมากกว่าแสง (FTL) หรือ ในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา, และในความเป็นจริงแล้วการตีความบางส่วนของกลศาสตร์ควอนตัม เช่น การตีความแบบโบห์ม (Bohm interpretation) เข้าใจว่าข้อมูลบางอย่างจะถูกแลกเปลี่ยนกันระหว่างอนุภาคอย่างทันทีทันใดเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคเอาไว้ [30] ปรากฏการณ์นี้จะถูกเรียกว่า "การกระทำของผีจากระยะไกล" (spooky action at a distance) โดยผู้ที่ให้คำจำกัดความนี้ก็คือ ไอน์สไตน์

ใกล้เคียง

การเดินทางข้ามเวลา การเดินทางของคิโนะ การเดินละเมอฆาตกรรม การเดินป่าในเพชรพระอุมา การเดินทางของคุณแม่มด การเดินขบวน การเดินเรือ การเดินทางของกัลลิเวอร์ การเดินทาง (เพลงสุชาติ แซ่เห้ง) การเดินทัพทางไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเดินทางข้ามเวลา http://www.sfu.ca/~swartz/time_travel1.htm http://www.asimovs.com/_issue_0407/onthenet2.shtml http://www.chuedang.com/88 http://www.foxnews.com/scitech/2011/07/25/time-tra... http://www.friesian.com/paradox.htm http://books.google.com/books?id=iYzi8m8FbEsC&lpg=... http://books.google.com/books?id=jfPAwAnj9JUC&pg=R... http://www.jewishsearch.com/article_395.html http://www2.mampost.com/movie/inter/view/The-time-... http://www2.mampost.com/movie/inter/view/The-time-...